เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4.จตุตถปัณณาสก์]
5.มหาวรรค 1.โสตานุคตสูตร

เสียงสังข์ เขาไม่พึงมีความสงสัยหรือเคลือบแคลงว่า ‘ใช่เสียง
สังข์หรือไม่หนอ’ ที่แท้ เขาพึงถึงความตกลงใจว่า ‘เป็นเสียง
สังข์แน่นอน’ ฉะนั้น ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ 3
แห่งธรรมทั้งหลายที่เข้าถึงโสตประสาท คล่องปาก ขึ้นใจ แทง
ตลอดดีด้วยทิฏฐิ อันบุคคลพึงหวังได้
4. ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ ธรรมเหล่านั้น
ของภิกษุนั้นเป็นภาวะเข้าถึงโสตประสาท คล่องปาก ขึ้นใจ แทง
ตลอดดีด้วยทิฏฐิ เธอหลงลืมสติ เมื่อตายไป จะไปเกิดในหมู่
เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้
มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย ทั้งภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญ
ทางจิตก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่หมู่เทพ แม้เทพบุตรก็ไม่ได้แสดง
ธรรมแก่หมู่เทพ แต่เทพบุตรผู้เป็นโอปปาติกะ1เตือนเทพบุตร ผู้
เป็นโอปปาติกะว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านระลึกถึงธรรมวินัยที่พวก
เราเคยประพฤติพรหมจรรย์มาได้ไหม’ เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ระลึกได้
ระลึกได้ ท่านผู้นิรทุกข์’ สติเกิดขึ้นช้า ต่อมา เธอระลึกได้ จึง
บรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน
ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ จึงบรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน
เปรียบเหมือนสหาย 2 คนผู้เคยเล่นฝุ่นด้วยกันมาพบกันบาง
ครั้งบางคราวในที่บางแห่ง คนหนึ่งพึงกล่าวกับอีกคนหนึ่งอย่างนี้
ว่า ‘สหาย ท่านระลึกถึงกรรมนี้ได้บ้างไหม’ เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า
ระลึกได้ ระลึกได้ สหาย’ ฉะนั้น ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์
ประการที่ 4 แห่งธรรมทั้งหลายที่เข้าถึงโสตประสาท คล่องปาก
ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ อันบุคคลพึงหวังได้
ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ 4 ประการนี้แห่งธรรมทั้งหลายที่เข้าถึงโสตประสาท
คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ อันบุคคลพึงหวังได้

โสตานุคตสูตรที่ 1 จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4.จตุตถปัณณาสก์]
5.มหาวรรค 2.ฐานสูตร

2. ฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะที่พึงรู้ด้วยฐานะ

[192] “ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ 4 ประการนี้อันบุคคลพึงรู้ได้ด้วยฐานะ 4
ประการ
ฐานะ 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ศีลพึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน และศีลนั้นแลพึงรู้ได้โดยใช้เวลานาน
ไม่ใช่นิดหน่อย ผู้มนสิการจึงรู้ได้ ผู้ไม่มนสิการหารู้ได้ไม่ ผู้มี
ปัญญาจึงรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามหารู้ได้ไม่
2. ความบริสุทธิ์พึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ และความบริสุทธิ์นั้นแลพึงรู้ได้
โดยใช้เวลานาน ไม่ใช่นิดหน่อย ผู้มนสิการจึงรู้ได้ ผู้ไม่มนสิการ
หารู้ได้ไม่ ผู้มีปัญญาจึงรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามหารู้ได้ไม่
3. กำลังพึงรู้ได้ในคราวมีอันตราย และกำลังนั้นแลพึงรู้ได้โดยใช้
เวลานาน ไม่ใช่นิดหน่อย ผู้มนสิการจึงรู้ได้ ผู้ไม่มนสิการหารู้
ได้ไม่ ผู้มีปัญญาจึงรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามหารู้ได้ไม่
4. ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา และปัญญานั้นแลพึงรู้ได้โดยใช้
เวลานาน ไม่ใช่นิดหน่อย ผู้มนสิการจึงรู้ได้ ผู้ไม่มนสิการหารู้
ได้ไม่ ผู้มีปัญญาจึงรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามหารู้ได้ไม่
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ศีลพึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน และศีลนั้นแล
พึงรู้ได้โดยใช้เวลานาน ไม่ใช่นิดหน่อย ผู้มนสิการจึงรู้ได้ ผู้ไม่มนสิการหารู้
ได้ไม่ ผู้มีปัญญาจึงรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามหารู้ได้ไม่‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เรา
จึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ บุคคลในโลกนี้เมื่ออยู่ร่วมกัน จึงรู้อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้มีปกติทำให้ขาด
ทำให้ทะลุ ทำให้ด่าง ทำให้พร้อย ไม่ทำต่อเนื่อง ไม่ประพฤติต่อเนื่องในศีลทั้งหลาย
ตลอดกาลนานแล ท่านผู้นี้เป็นผู้ทุศีล ไม่ใช่เป็นผู้มีศีล’
อนึ่ง บุคคลในโลกนี้เมื่ออยู่ร่วมกัน จึงรู้อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้มีปกติไม่ทำให้ขาด
ไม่ทำให้ทะลุ ไม่ทำให้ด่าง ไม่ทำให้พร้อย มีปกติทำต่อเนื่อง ประพฤติต่อเนื่องใน
ศีลทั้งหลายตลอดกาลนานแล ท่านผู้นี้เป็นผู้มีศีล ไม่ใช่เป็นผู้ทุศีล’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 21 หน้า :279 }